top of page
ประเพณีขันโตก
แห่นางแมว

ความสำคัญ
                  การเลี้ยงขันโตก เป็นประเพณีเลี้ยงอาหารร่วมกันหลายๆคน เป็นวัฒนธรรมและประเพณีของชาวเหนือที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะที่เชียงใหม่ และลำพูน

  • อาหารขันโตก

                ประกอบด้วย ข้าวนึ่งหรือข้าวเหนียว แกงอ่อม แกงฮังเล ไส้อั่ว แคบหมู น้ำพริกอ่อง ลาบ ผักต่างๆตลอดจนของหวานต่างๆ ซึ่งอาหารเหล่านี้จะตักใส่ถ้วยเล็กๆ วางไว้ในขันโตกจนครบ แล้วใช้ฝาชีครอบไว้จนกว่าพิธีแห่ขันโตกจะเสร็จ

  • การแห่ขันโตก

          จัดเรียงลำดับดังนี้
๑. พานบายศรี
๒. ช่างฟ้อนเล็บ
๓. กลุ่มดนตรีกลองตึ่งโหน่ง (บางทีก็ให้อยู่นอกขบวน)
๔. ขันโตกเอก ขันโตกโทหรือขันโตกรอง
๕. กล่องข้าวใหญ่
๖. ขันโตกบริวาร
๗. กล่องข้าวเล็ก
๘. อาหารหวาน

  • การนั่งในการเลี้ยงขันโตก

           ผู้ชายจะนั่งขัดสมาธิหรือที่ทางเหนือเรียกว่า “ขดตะหวาย” ส่วนผู้หญิงจะนั่งพับเพียบ ทางเหนือเรียกว่า”นั่งป้อละแหม้”
การละเล่นในการเลี้ยงขันโตก  นอกจากมีการจุดดอกไม้เพลิง (บอกไฟดอก) และตะไล (บอกไฟจักจ่า) แล้วจะมีชุดการแสดงต่างๆเช่น ฟ้อนเล็บหรือฟ้อนเทียน ฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนแม้ว ฟ้อนหริภุญไชย เป็นต้น

ความสำคัญ
               ประเพณีอุ้มพระดำน้ำเป็นประเพณีที่มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย เกิดจากความเชื่อเกี่ยวกับอภินิหารของพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองคือพระพุทธมหาธรรมราชา ซึ่งคนหาปลาสองสามีภรรยาทอดแหได้ที่วังเกาะระสารในบริเวณลุ่มน้ำป่าสักในเขตตัวเมืองเพชรบูรณ์ จึงนำไปไว้ที่วัดไตรภูมิ เมื่อถึงเทศกาลสารทพระพุทธรูปองค์นี้จะหายไปและชาวบ้านจะพบมาเล่นน้ำที่บริเวณที่ค้นพบเดิม ดังนั้นในเทศกาลทำบุญสารทหลังจากทำบุญเสร็จแล้วจะมีพิธีอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาลงริ้วขบวนเรือไปสรงน้ำที่วังเกาะระสาร แต่ปัจจุบันนำมาทำพิธีที่ท่าน้ำของวัดโบสถ์ชนะมารในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐

การจัดทำพิธี
                 จัดให้มีพิธีอุ้มพระดำน้ำในตอนเช้าหลังทำบุญสารท โดยมีขบวนแห่เรือ  นำไปโดยผู้ว่าราชการจังหวัด  เมื่อถึงบริเวณวัดโบสถ์ชนะมาร เจ้าเมืองพร้อมข้าราชบริพารจะอุ้มพระลงดำน้ำ โดยหันหน้าองค์พระไปทิศเหนือ ๓ ครั้ง  ทิศใต้ ๓ ครั้ง  ชาวบ้านจะปรยข้าวตอก ดอกไม้ และข้าวต้มกลีบ  เมื่อดำน้ำเสร็จชาวบ้านจะตักน้ำรดศีรษะและรดกันเองเพื่อเป็นสิริมงคล

ความสำคัญ
                งานประเพณีปอยส่างลองหรืองานบวชลูกแก้ว เป็นประเพณีบวชเณรตามธรรมเนียมของชาวไทยใหญ่ เพื่อให้บุตรหลานได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าและมีความเชื่อว่าจะได้รับบุญกุศลจากการบวชสามเณร งานนี้จัดให้มีขึ้นช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ช่วงปิดเทอมฤดูร้อน โดยชาวบ้านจะตกลงกันกำหนดวันนัดหมายให้ลูกหลานได้บวชเรียนพร้อมๆ กัน มีการประดับประดาผู้ที่จะบวชด้วยเครื่องประดับมีค่าอย่างสวยงาม และประกอบพิธีบวชตามวัดที่เจ้าภาพศรัทธา

                 แต่เดิมปอยส่างลองเป็นประเพณีที่จัดเฉพาะในหมู่ญาติมิตรของเจ้าภาพ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้เกิดมีแนวความคิดใหม่โดยจัดเป็นบรรพชาหมู่ร่วมกันมากถึง ๒๐๐ รูป เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี ทำให้ในเขตอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนนิยมจัดบรรพชาหมู่สืบต่อมาถึงปัจจุบัน ปอยส่างลองจึงได้กลายเป็นประเพณีที่จูงใจให้มีผู้สนใจมากขึ้นกว่าแต่ก่อน

ประเพณีหุ้มพระดำน้ำ
ประเพณีปอยส่างลอง

ภาคเหนือ

ความสำคัญ
                การประกอบอาชีพทางเกษตรในสมัยก่อน ต้องพึ่งพาสภาพดินฟ้าอากาศ ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ ถ้าปีไหนฝนดีข้าวกล้าในนาก็เจริญงอกงาม หากปีใดฝนแล้ง หรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าในนาก็จะเสียหาย ไม่มีน้ำจะทำนา ชาวบ้านไม่มีวิธีการอื่นใดที่จะช่วยได้ จึงพึ่งพาสิ่งเหนือธรรมชาติต่างๆ เป็นต้นว่าทำพิธีขอฝนโดยการแห่นางแมว เชื่อว่าหากกระทำเช่นนั้นแล้วจะช่วยให้ฝนตกลงมาได้

พิธีกรรม
                   นำชลอมมาตกแต่งให้สวยงาม ใส่แมวไว้ข้างในมัดผูกให้เรียบร้อยหลังใส่คานหามหัวท้ายสองคนแห่ไปรอบๆ หมู่บ้าน โดยมีกลองยาวนำขบวนพร้อมกับร้องเพลงแห่นางแมว ผ่านหน้าบ้านใคร เจ้าของบ้านก็จะเอากระบวยตักน้ำมาสาดรดแมว พร้อมทั้งให้รางวัลแก่พวกแห่ เช่น เหล้า ข้าวปลา หรือของกินอื่น ๆ แล้วเคลื่อนต่อไปเรื่อยๆ จนหมดเขตหมู่บ้านก็นำของนั้นมาเลี้ยงกัน กระทำดังนี้จนกว่าฝนจะตก เนื้อร้องเพลงแห่นางแมวมีดังต่อไปนี้

bottom of page